รายละเอียด ขั้นตอนการรับประทานอาหาร (โดย หมอเขียว ใจเพชร)
1. ดื่มน้ำสมุนไพร หรือน้ำเขียว (คลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ) ครึ่ง-1 แก้ว
อาจผ่านไฟให้อุ่นสำหรับผู้ที่มีภาวะเย็นแทรก
2. กินผลไม้ฤทธิ์เย็น ถ้าเปรี้ยวไม่เสียวฟัน ให้กินก่อนผลไม้หวาน แต่ถ้าเสียวฟัน ให้งดการกินเปรี้ยว
ส่วนผลไม้ที่หวาน ควรรับประทานเพียงเล็กน้อย
3. กินผักสดฤทธิ์เย็นหรือผ่านไฟ กินเป็นสลัดผัก กินกับส้มตำ น้ำพริกรสไม่จัด ยำ ห่อใบเมี่ยง หรือกินกับ กับข้าวรสจืด
4. กินข้าวเปล่า ข้าวโรยเกลือ หรือกินข้าวพร้อมกับข้าวต่าง ๆ ผัดผักไม่ใส่น้ำมัน (ผัดน้ำ) นึ่ง-ลวก เห็ด-เต้าหู้
5. กินถั่วเขียวต้ม ใส่เกลือหรือน้ำตาลเล็กน้อย (ต้มสุกไม่เปื่อย) หรือถั่วหลากพัีนธุ์ที่ถูกกับสภาพร่างกาย
น้ำเต้าหู้ (ในคนที่กินได้ โดยที่ไม่มีอาการผิดปกติ)
6. กินแกงจืด/แกงอ่อม/แกงเลียง/น้ำซุป/น้ำแกงอื่น ๆ ที่รสไม่จัด
สามารถกินได้ทุกขั้นตอน วันที่อากาศ เย็น ควรรับประทานแกงจืดก่อนอาหารอื่น
7. ดื่มน้ำเปล่า เมื่อเริ่มรู้สึกกระหายน้ำ อาจหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง
8. ดื่มน้ำสมุนไพร หรือน้ำเขียว ช่วงบ่ายหรือช่วงเย็น ควรดื่มหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือตอนท้องว่าง
ข้อควรระวัง
- ให้กินผลไม้ ผัก ก่อนกินข้าว ถ้าเรากินข้าวก่อนอย่างอื่น ข้าวเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานความร้อน ความร้อนจะไปเผาทำลายเซลล์เราก่อนที่ผักและผลไม้ซึ่งมีฤทธิ์เย็นจะเข้าไปคุ้มครองเซลล์ (ผลไม้ จะัย่อยง่ายกว่าผัก)
- ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าบ่อย ในระหว่างมื้อ จะทำให้การย่อยอาหารไม่ดี ท้องจะอืด จะเกิดก๊าซพิษได้
- ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดอาหารที่เคี้ยวไม่ละเอียด จะไม่ถูกดูดซึมไปใช้้งานได้ จะกลายเป็นอาหารของเชื้อโรค จุลลิินทรีย์ที่อยู่ในร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดของเสีย ก๊าซพิษเต็มท้อง และจะกลับคืนสู่กระแสเลือด ไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จะถูกดูดซึมไปที่สมอง ก็เท่ากับว่า เรากินของเสีย กินขี้ตัวเองทุกวัน ยิ่งถ้าเรา ไม่ได้ถ่ายทุกวัน ก็จะแย่ซ้ำร้ายใหญ่ ดังนั้น เราควรที่จะต้องทำดีท็อกซ์บ้าง เพื่อจะได้ช่วยเอาก๊าซพิษออกให้เร็วที่สุด
- และไม่ควรใช้ไฟแรงจัดในการทำอาหาร จะทำให้เกิดภาวะร้อนเกิน ไม่ควรอุ่นอาหารบ่อย อุ่นแล้วอุ่นอีก เช่น จับฉ่ายหรือต้มข้าวต้มเปื่อยๆ ก็จะเกิดภาวะร้อนเกินจะทำให้อาการที่เจ็บป่วยไม่ให้สักทีจะป่วยแล้วป่วยอีก